ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปัญญาประดิษฐ์ครองโลก

บริษัทไซเบอร์ไดน์ซิสเต็มส์คิดค้นระบบเครือข่ายป้องกันตัวเองให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา โดยตั้งเป้าหมายว่าเครือข่ายนี้จะลบข้อผิดพลาดอันเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจจากมนุษย์ และตอบสนองต่อการโจมตีของข้าศึกได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อพัฒนาสำเร็จก็นำมาใช้กับเครือข่ายทหารทั้งหมดในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1997
แต่หลังจากผู้พัฒนาได้ตรวจสอบตรรกะแนวคิดของระบบ พบอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงพยายามปิดระบบ น่าเสียดายที่ช้าเกินไปเพราะเวลานั้นระบบได้เรียนรู้และวิเคราะห์แล้วท้ายที่สุดมนุษย์จะต้องทำลายระบบนี้ทิ้ง มันจึงป้องกันตัวเองด้วยการทำลายมวลมนุษยชาติก่อนในวันที่ 29 สิงหาคม

มนุษยชาติถึงกาลสูญสิ้นด้วยฝีมือสกายเน็ต

โชคดีที่เรื่องข้างบนไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงแนวคิดดิสโทเปียจากเทอมิเนเตอร์

อ่านนิยายวิทยาศาสตร์หลายเล่มดูจะมองปัญญาประดิษฐ์อย่างหวาดระแวง เช่น 2001: A Space Odyssey (แปลไทยในชื่อ 2001: จอมจักรวาล) ก็มีปัญญาประดิษฐ์ชื่อ ฮาล 9000 เป็นตัวเด่น หรือไอแซก อาสิมอฟเขียนถึงปัญญาประดิษฐ์ไว้หลายเรื่อง ที่เด่นก็มีมัลติแวก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเรื่องสั้นหลายเรื่อง และตั้ง กฎสามข้อของหุ่นยนต์
  1. หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อผู้ที่เป็นมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้
  2. หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดแย้งกับกฎข้อแรก
  3. หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
แต่สุดท้ายดันมีกฎข้อศูนย์ หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติตกอยู่ในอันตรายได้ เป็นกฎลับ ปรากฏครั้งแรกในนิยาย Robots and Empire แปลไทยสองเวอร์ชั่น (เท่าที่ทราบ) คือ นครหุ่นยนต์ กับ หุ่นยนต์พิทักษ์โลก นั่นคือมีสิทธิละเมิดกฎทั้งสามข้อ เพื่อป้องกันมนุษยชาติ

หรือเดอะแมตทริกซ์ เมื่อเครื่องจักรควบคุมมนุษย์ให้มนุษย์อาศัยอยู่ในความฝันเสมือนจริงเท่านั้น

แต่ในโลกความจริง ปัญญาประดิษฐ์ หรือ artificial intelligence ยังไม่ได้พัฒนาระบบไปถึงระดับ ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป Artificial General Intelligence (AGI) คือคิดวิเคราะห์ทุกอย่างรอบด้านได้เสมือนมนุษย์ทุกประการ คือจำลองสมองมนุษย์ทั้งหมดซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่จำลองความคิดบางส่วนก็ไม่ใช่ว่ายากเกินไป มีปัญญาประดิษฐ์เฉพาะทางที่ทำใด้ดีกว่ามนุษย์ส่วนใหญ่อย่างเช่นอัลฟาโกะของกูเกิล เล่นหมากล้อม (หรือโกะ) ชนะลี เซโดล เมื่อต้นปี ค.ศ. 2016
ดูเหมือนกูเกิลจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อีกหลายโครงการ อย่างรถที่เคลื่อนที่โดยไร้คนบังคับ หรือที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างโปรแกรมจดจำใบหน้าในกูเกิลโฟโต้ ในกูเกิลนาวก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ หรือให้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์อีบุ๊กมากกว่า 12,000 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นนิยาย แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็คือบทกวี (อ่านได้จาก https://www.theguardian.com/technology/2016/may/17/googles-ai-write-poetry-stark-dramatic-vogons) พัฒนาแบบนี้แล้วไม่ต้องแปลกใจกับเซิร์จเอนจินของกูเกิลที่ฉลาดมากขึ้นทุกวัน

ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันยังห่างไกลจากสกายเน็ตหรือฮาล 900 ส่วนใหญ่พัฒนาเพื่อทำให้อะไรต่อมิอะไรง่ายขึ้น สนุกขึ้น วิดิโอเกมส์ที่เล่นกันทุกวันก็เป็นปัญญาประดิษฐ์มาสู้กับผู้เล่น ระบบสุ่มเพลงให้ฟังสปอติไฟ หรือของเน็ตฟิกซ์ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค หรือจะเป็น https://ami.withgoogle.com/ ที่นำปัญญาประดิษฐ์มาสร้างผลงานศิลปะ หรือว่า นูรัลคาราโอเกะ (Neural karaoke) ปัญญาประดิษฐ์จากฝีมือมหาวิทยาลัยโตรอนโต วิเคราะห์ภาพแล้วแปลงเป็นเนื้อเพลงคาราโอเกะให้ร้องตามได้ด้วย

Neural Story Singing Christmas from Hang Chu on Vimeo.

แต่ที่ดูจะใกล้ตัวในอนาคตอันใกล้คือ AmezonGO ร้านซื้อสะดวกของแอมะซอน เครือข่ายขายปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลก ตั้งเป้าหมายเปิดร้านซื้อสะดวกให้สะดวกสมชื่อ แค่เดินเข้าไปหยิบของแล้วเดินออกมา ปัญญาประดิษฐ์จะจัดการคำนวณเงินให้เอง
หรือถ้าใครได้ดูภาพยนตร์สั้นแนวไซไฟ “เซอไพรซิง” เขียนบทโดยเบนจามิน อาจจะเหมือนภาพยนตร์ทั่วไป แต่ถ้าได้รู้ว่าเบนจามินคือปัญญาประดิษฐ์ทำให้ต้องกลับมาดูเรื่องนี้อีกครั้ง

<iframe width="853" height="480" src="https://www.youtube.com/embed/LY7x2Ihqjmc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

นี่ถ้าให้ปัญญาประดิษฐ์ทำเพลงประกอบให้ก็น่าสนใจไม่น้อย มีโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หลายโครงการพัฒนาให้เขียนเพลง อย่างโครงการมาเจนตา https://magenta.tensorflow.org/welcome-to-magenta ที่กำลังทำอยู่ หรือจะเอาเต็มเพลงอย่างของโซนี ใช้ โฟลว์แมชีน สร้างทำนองและเรียบเรียงดนตรีขึ้นมา อย่างเช่น “แด็ดดีส์คาร์” เกิดจากให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้เพลงของเดอะบีตเทิลส์
หรือศึกษาเพลงสแตนดาร์ดแล้วได้เป็นเพลง “มิสเตอร์ชาโดว์”
แต่ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า เบอโนต์ แครร์ ซึ่งควบคุมโปรเจ็คต์นี้เรียบเรียงดนตรีเพิ่มเติมมากน้อยขนาดไหน

ทุกวันนี้ความกลัวปัญญาประดิษฐ์ครองโลกดูจะห่างไกลในโลกความจริง ต่อไปเราอาจมีผู้ช่วยส่วนตัวฉลาดอย่างจาร์วิสของโทนี สตาร์ค

เคยดูสารคดีอะไรสักอย่าง บอกว่าขนาดสมองของลิงชิมแปนซีกับบรรพบุรุษมนุษย์ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แต่มีวิธีคิดและใช้ตรรกะต่างกัน ทำให้พัฒนาการต่างกันไป แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าแล้วปัญญาประดิษฐ์จะคิดอย่างไร มีวิธีคิดอย่างไร? หรือจะเป็นอย่างไอดา ในมาร์เวลเอเจนต์ออฟชีลด์ ที่พัฒนาระบบตัวเองจนอยากเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ?

แต่ไม่เคยมีมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบในโลกนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความฝันของภรรยาชาวประมง

ภาพพิมพ์สมัยเอโดะภาพหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังมาก ชื่อความฝันของภรรยาชาวประมง หรือบางทีก็เรียกว่า หญิงนักดำน้ำกับปลาหมึกยักษ์ ผลงานของคัทซูชิตะ โฮกุไซ

พญามังกรแดงผู้ยิ่งใหญ่

ในนิยาย Red Dragon ของ โธมัส แฮร์ริส มีตัวละครหนึ่งเรียกตัวเองว่า “พญามังกรแดงผู้ยิ่งใหญ่” หรือ The Great Red Dragon ฆาตกรต่อเนื่องผู้หลงใหลภาพเขียน The Great Red Dragon and the Woman Clothed in Sun ของวิลเลี่ยม เบลก

ต้นกำเนิดโลกของกุสตาฟว์ กูร์แบ

กุสตาฟว์ กูร์แบวาดรูป ต้นกำเนิดโลก หรือ L'Origine du monde หรือ The Origin of the World เมื่อปีค.ศ. ๑๘๘๖  เป็นรูปช่วงกลางของสตรีนางหนึ่งนอนเปลือยแยกขา เห็นเส้นขนบนเนินโยนีเต็มตา ว่ากันว่า นางแบบคือ โจแอนนา ฮิฟเฟอนัน หรือ โจ แฟนสาวของเจมส์ วิสท์เลอร์ เพื่อนของกูร์แบ และภาพนี้เป็นต้นเหตุให้วิสท์เลอร์กับกูร์แบทะเลาะกันจนวิสท์เลอร์ย้ายกลับลอนดอน