เมื่อภาพ (ว่าที่) ปกแบ็ตเกิร์ล ฉบับที่ ๔๑ ออกสู่สายตาแฟนการ์ตูน ด้วยรูปโจ๊กเกอร์ยืนกอดคอแบ็ตเกิร์ล ผู้มีน้ำตาคลอ ปากเปรอะเปื้อนสีแดง (เลือด?) เป็นรูปรอยยิ้มเครื่องหมายการค้าของโจ๊กเกอร์ แฟนการ์ตูนต่างทนไม่ได้ เคลื่อนไหวออนไลน์ตอบกลับไปสู่ดีซีคอมิคซ์ทันควันว่าหน้าปกแบบนี้ทำร้ายความรู้สึกกันเกินไป
ภาพปกนี้เป็นฝีมือของราฟาเอล อัลบูเควียร์คิว ผู้เคยสร้างสรรค์หน้าปกเดอะคิลลิงโจ๊กมาก่อนแล้ว และหน้าของโจ๊กเกอร์ก็แทบจะพิมพ์เดียวกัน
เมื่อราฟาเอลได้รับทราบปฏิกิริยาจากแฟนการ์ตูนก็ร้องขอทางดีซีคอมิกซ์ไม่ให้ใช้ภาพนี้เป็นภาพปก ทั้งที่ภาพนี้คิดออกมาแบบสานต่อเรื่องราวมีความหมาย โดยเขาต้องการอ้างอิงถึง เดอะคิลลิงโจ๊ก ปีค.ศ. ๑๙๘๘ ที่เขียนเนื้อเรื่องโดยอลัน มัวร์ (เรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นตอนที่เกี่ยวกับโจ๊กเกอร์ที่ดีมากตอนหนึ่งเท่าที่เคยมีมา)
“ภาพปกแบทเกิร์ลของผมออกแบบมาเพื่อสดุดีการ์ตูนที่ผมชื่นชอบและรู้ว่าผู้อ่านมากมายชื่นชอบด้วยเช่นกัน เดอะคิลลิงโจ๊กเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับแบ็ตเกิร์ล และด้วยเหตุผลทางศิลปะแล้วผมไม่อาจหลีกเลี่ยงความเกี่ยวพันอันเจ็บปวดระหว่างบาร์บารา กอร์ดอนกับโจ๊กเกอร์ได้”
ถ้าไม่เคยอ่านเดอะคิลลิงโจ๊ก หรือไม่เคยรู้เรื่องราวของมนุษย์ค้างคาว อาจจะต้องเปิดเผยเนื้อหาคร่าว ๆ ว่า ตัวมนุษย์ค้างคาว (แบ็ตแมน) ตั้งปฏิญญากับตัวเองว่าจะไม่ฆ่าใคร เดอะคิลลิงโจ๊กเลยจับเอาเรื่องความตั้งใจนี้มาเล่น ว่าอะไรจะเป็นตัวผลักดันให้เขาก้าวข้ามสิ่งที่เขายึดถือได้ สิ่งที่ใช้ในเดอะคิลลิงโจ๊กคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับบาร์บารา กอร์ดอน (แบ็ตเกิร์ล) ด้วยฝีมือโจ๊กเกอร์
สิ่งที่เกิดขึ้นกับบาร์บาราเลวร้ายมาก และทำให้เธอต้องนั่งรถเข็นหลังจากนั้นและกลายเป็นออราเคิล
แฟนการ์ตูนเห็นว่าภาพ (ว่าที่) ปกแบ็ตเกิร์ลนี้ ทำให้ภาพการเป็นเหยื่อโดนย่ำยีของบาร์บาราโดนดึงกลับมา ภาพวีรสตรีกลายเป็นภาพเหยื่อที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ในแง่การศิลปะและการสื่อความหมาย หน้าปกเดอะคิลลิงโจ๊กเคยทำให้คนทึ่งมาแล้ว เพราะถ้าไม่ได้อ่านเนื้อหาภายในจะไม่เข้าใจถึงความหมายแฝงอันน่ากลัวและเป็นแก่นของเรื่อง ก็จะเป็นโจ๊กเกอร์กำลังถ่ายรูปธรรมดาทั่วไป
แต่ถ้าได้อ่านเนื้อหาภายใน จะรู้ว่าหน้าปกสะท้อนความน่ากลัวของเรื่องออกมา
และ (ว่าที่) หน้าปกแบ็ตเกิร์ลฉบับ ๔๑ ที่โดนยับยั้งครั้งนี้ ก็แสดงความรุนแรงทีเชื่อมต่อจากเดอะคิลลิงโจ๊กไม่แพ้กัน
ภาพปกนี้เป็นฝีมือของราฟาเอล อัลบูเควียร์คิว ผู้เคยสร้างสรรค์หน้าปกเดอะคิลลิงโจ๊กมาก่อนแล้ว และหน้าของโจ๊กเกอร์ก็แทบจะพิมพ์เดียวกัน
![]() |
ว่าที่หน้าปกแบ็ตเกิร์ล |
เมื่อราฟาเอลได้รับทราบปฏิกิริยาจากแฟนการ์ตูนก็ร้องขอทางดีซีคอมิกซ์ไม่ให้ใช้ภาพนี้เป็นภาพปก ทั้งที่ภาพนี้คิดออกมาแบบสานต่อเรื่องราวมีความหมาย โดยเขาต้องการอ้างอิงถึง เดอะคิลลิงโจ๊ก ปีค.ศ. ๑๙๘๘ ที่เขียนเนื้อเรื่องโดยอลัน มัวร์ (เรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นตอนที่เกี่ยวกับโจ๊กเกอร์ที่ดีมากตอนหนึ่งเท่าที่เคยมีมา)
“ภาพปกแบทเกิร์ลของผมออกแบบมาเพื่อสดุดีการ์ตูนที่ผมชื่นชอบและรู้ว่าผู้อ่านมากมายชื่นชอบด้วยเช่นกัน เดอะคิลลิงโจ๊กเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับแบ็ตเกิร์ล และด้วยเหตุผลทางศิลปะแล้วผมไม่อาจหลีกเลี่ยงความเกี่ยวพันอันเจ็บปวดระหว่างบาร์บารา กอร์ดอนกับโจ๊กเกอร์ได้”
ถ้าไม่เคยอ่านเดอะคิลลิงโจ๊ก หรือไม่เคยรู้เรื่องราวของมนุษย์ค้างคาว อาจจะต้องเปิดเผยเนื้อหาคร่าว ๆ ว่า ตัวมนุษย์ค้างคาว (แบ็ตแมน) ตั้งปฏิญญากับตัวเองว่าจะไม่ฆ่าใคร เดอะคิลลิงโจ๊กเลยจับเอาเรื่องความตั้งใจนี้มาเล่น ว่าอะไรจะเป็นตัวผลักดันให้เขาก้าวข้ามสิ่งที่เขายึดถือได้ สิ่งที่ใช้ในเดอะคิลลิงโจ๊กคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับบาร์บารา กอร์ดอน (แบ็ตเกิร์ล) ด้วยฝีมือโจ๊กเกอร์
![]() |
หน้าปกเดอะคิลลิงโจ๊ก |
สิ่งที่เกิดขึ้นกับบาร์บาราเลวร้ายมาก และทำให้เธอต้องนั่งรถเข็นหลังจากนั้นและกลายเป็นออราเคิล
แฟนการ์ตูนเห็นว่าภาพ (ว่าที่) ปกแบ็ตเกิร์ลนี้ ทำให้ภาพการเป็นเหยื่อโดนย่ำยีของบาร์บาราโดนดึงกลับมา ภาพวีรสตรีกลายเป็นภาพเหยื่อที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ในแง่การศิลปะและการสื่อความหมาย หน้าปกเดอะคิลลิงโจ๊กเคยทำให้คนทึ่งมาแล้ว เพราะถ้าไม่ได้อ่านเนื้อหาภายในจะไม่เข้าใจถึงความหมายแฝงอันน่ากลัวและเป็นแก่นของเรื่อง ก็จะเป็นโจ๊กเกอร์กำลังถ่ายรูปธรรมดาทั่วไป
แต่ถ้าได้อ่านเนื้อหาภายใน จะรู้ว่าหน้าปกสะท้อนความน่ากลัวของเรื่องออกมา
และ (ว่าที่) หน้าปกแบ็ตเกิร์ลฉบับ ๔๑ ที่โดนยับยั้งครั้งนี้ ก็แสดงความรุนแรงทีเชื่อมต่อจากเดอะคิลลิงโจ๊กไม่แพ้กัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น