ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อศิลปิน “ขโมย” รูปจากอินสตาแกรมคนอื่นมาขาย

มีคำพูดแพร่หลายว่า Good artists copy, great artists steal - ศิลปินที่ดีลอกเลียน ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ขโมย


ริชาร์ด พรินซ์ทำตัวอย่างให้เห็นว่าเขาเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่...ด้วยการขโมยภาพคนอื่นมาใช้! อย่างเช่นผลงานล่าสุดที่จัดแสดงในชื่อ “นิวพอร์ทเทรทส์” โดยเขาจับภาพหน้าจออินสตาแกรมมาขยายขนาดใหญ่ ทุกอย่างเหมือนกับที่ดูอินสตาแกรมตามปกติ เพียงแต่มีขนาดใหญ่ ทุกภาพจะมีชื่อริชาร์ด พรินซ์แสดงความคิดเห็นต่อรูปภาพนั้นอยู่ด้วย

แต่ในความคิดเห็นนั้นเขาไม่ได้บอกเจ้าของภาพว่าจะนำภาพของบุคคลเหล่านั้นไปขาย

และขายในราคาแพงถึง ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ

ริชาร์ด พรินซ์เป็นศิลปินเชิงแนวคิด (Conceptual art – หลายท่านถอดคำไทยว่ามโนทัศนศิลป์) ที่ทำงานมายาวนานตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๗๐ โดยนำเสนอผลงานศิลปะโดยนำภาพถ่ายของคนอื่นมาดัดแปลง (Re-photography) เขาเคยแสดงความคิดของตัวเองว่าวัตถุไม่สำคัญเท่าความคิดนำเสนอ และผลงานของเขาก็ได้นำผลงานของคนอื่นที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ เช่นหน้าโฆษณาในนิตยสารมาดัดแปลงใหม่

ริชาร์ด พรินซ์ ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและวิพากษ์วิจารณ์มันออกมาโดยใช้สิ่งที่เห็นได้ในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่เป็นรูปภาพของคนอื่นและเขานำมันมาดัดแปลง (หรือบางทีก็แทบไม่ได้ดัดแปลง) อย่างเช่นผลงานที่โด่งดังมากชิ้นหนึ่งของเขาคือภาพ จิตวิญญาณอเมริกา ที่เขาเผยแพร่ออกมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖

จิตวัญญาณอเมริกา ของ ริชาร์ด พรินซ์

นิตยสาร ชูการ์เอ็นสไปซ์ (Sugar 'n' Spice) เผยแพร่ภาพเปลือยของบรูค ชิลด์สในวัย ๑๐ ขวบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งต่อมาบรูค ชิลด์สได้ดำเนินการทางกฎหมายไม่ให้นำภาพชุดนั้นไปเผยแพร่ต่อในปีพ.ศ. ๒๕๒๔ แต่ศาลได้ตัดสินในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ว่าภาพนี้ถ่ายภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง (คือเทอรี ชิลด์ส มารดาของเธอ) และไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองสื่อลามกอนาจารเด็กและเยาวชน (อ่านรายละเอียดคำพิพากษาได้ที่ http://journalism.uoregon.edu/~tgleason/j385/Brooke.htm) และเมื่อศาลตัดสินแบบนั้น ริชาร์ด พรินซ์ นำภาพดังกล่าวมาดัดแปลง โดยตั้งชื่อเสียดสีว่า “จิตวิญญาณอเมริกา” ตามแบบภาพ “จิตวิญญาณอเมริกา”เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๖ ของอัลเฟรด สไตกลิทซ์ซึ่งถ่ายภาพสะโพกม้าเอาไว้
จิตวัญญาณอเมริกา ของ อัลเฟรด สไตกลิทซ์

และภาพชุด “นิวพรอทเทรตส์” หรือ การถ่ายภาพบุคคลใหม่ นำภาพจากอินสตาแกรมมามาขยายใหญ่ แนวคิดเพื่อวิพากษ์สังคมปัจจุบันกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่มีใครสงสัยว่านี่คืองานศิลปะหรือไม่ แต่คำถามที่ตามมาคือสมควรหรือไม่ ครั้งนี้คงไม่มีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะเคยมีเคสในเรื่องการนำมาใช้ทางศิลปะกำกับอยู่ และริชาร์ดได้แสดงตัวออกความเห็นทุกรูป ซึ่งในภาพที่เอามาขายจะมีความคิดเห็นของเขาปิดท้ายทุกภาพ


แต่ก็มีเสียงสะท้อนจากเจ้าของภาพมาประปราย

เผื่อใครอยากเห็นภาพต้นฉบับเต็ม ๆ
มิสซี ซุไซด์ นางแบบจากเว็บซุไซด์เกิร์ลส์ แสดงความเห็นว่า “ความคิดแวบแรกคือ ฉันไม่รู้จักใครที่จ่ายเงิน ๙๐,๐๐๐ ดอลลาร์เพื่ออะไรอื่น นอกจากซื้อบ้าน” แล้วเธอก็จัดการนำภาพ ภาพเดียวกับที่ริชาร์ดนำไปใช้ มาขยายขนาดใหญ่เท่ากัน แล้วบอกขายในราคา ๙๐ ดอลลาร์แทน
Everyone has been asking me what I thought about famous controversial artist Richard Prince taking a series of SuicideGirls Instagram posts and printing them out and selling them at a recent gallery show at the Gagosian Gallery of Beverly Hills for $90,000 a piece. My first thought was I don’t know anyone who can spend $90,000 on anything other than a house. Maybe I know a few people who can spend it on a car. As to the copyright issue? If I had a nickel for every time someone used our images without our permission in a commercial endeavor I’d be able to spend $90,000 on art. I was once really annoyed by Forever 21 selling shirts with our slightly altered images on them, but an Artist? Richard Prince is an artist and he found the images our girls and we publish on Instagram as representative of something worth commenting on, part of the zeitgeist, I guess? Thanks Richard! Do we have Mr. Prince’s permission to sell these prints? We have the same permission from him that he had from us. ;) I’m just bummed that his art is out of reach for people like me and the people portrayed in the art he is selling. So we at SuicideGirls are going to sell the exact same prints people payed $90,000 for $90 each. I hope you love them. Beautiful Art, 99.9% off the original price. ;) https://suicidegirls.com/shop/instagram-art-1/ https://suicidegirls.com/shop/instagram-art-2/ https://suicidegirls.com/shop/instagram-art-3/ https://suicidegirls.com/shop/instagram-art-4/ https://suicidegirls.com/shop/instagram-art-5/ Urban art publisher Eyes On Walls (EyesOnWalls.com) is supporting the project by fulfilling the large canvas reproductions at cost. We will be donating the profits from sales to EFF.org. xoxo Missy Check out Missy's AMA happening right now! http://redd.it/37hzrn
A post shared by SuicideGirls 💋 (@suicidegirls) on
ซึ่งริชาร์ดก็ตอบผ่านทวิตเตอร์ว่า มันเป็นความคิดที่เยี่ยมมาก

สิ่งที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอย่างที่หลายคนพร่ำบอกเสมอว่า “นี่คือพื้นที่ส่วนตัว จะทำอะไรก็ได้” นี่คือเฟซบุ๊กส่วนตัว นี่คือินสตาแกรมส่วนตัว นี่คือทวิตเตอร์ส่วนตัว

...ในอินเตอร์เน็ตมีแต่พื้นที่สาธารณะ

สำหรับคนที่สงสัยว่า ศิลปินดังขนาดนี้ ขโมยภาพคนอื่นมาใช้เปิดเผยแบบนี้ ทำไมไม่โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายบ้าง ยิ่งอเมริกาเป็นประเทศที่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันเป็นอาชีพ

ในอดีต เคยมีคนฟ้องเขาข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เหมือนกัน อย่างเช่น แพทริก คาโร ฟ้องร้องดำเนินคดีเขาในปีพ.ศ. ๒๕๕๑

ริชาร์ด พรินซ์ นำภาพจากหนังสือรวมภาพของแพทริก คาโร ชื่อ “เยส ราสต้า” ตีพิมพ์ปีพ.ศ. ๒๕๔๓ มาจัดแสดงในงานชื่อ “คาเนล โซน” ของเขาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งไม่ใช่แค่ภาพเดียว แต่หลายสิบภาพ ทั้งทำมาพิมพ์ใหม่ตรง ๆ ปรับขนาด ทำเบลอหรือเปลี่ยนสี ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ถึงการนำมาใช้อย่างยุติธรรมตามการสร้างงานศิลปะ ซึ่งบางภาพก็เข้าข่ายศิลปะ บางภาพเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ หลายภาพโดนสั่งให้ทำลายทิ้ง คดีความยืดเยื้อถึงปีพ.ศ. ๒๕๕๖ และทั้งคู่ตัดสินใจตกลงกันนอกศาล

การนำภาพคนอื่นมาดัดแปลงนี้เป็นเรื่องถกเถียงกันมานานว่าสมควรหรือไม่ ลองอ่าน http://hyperallergic.com/69719/richard-prince-back-in-black/ มีเปรียบเทียบเป็นกรณีศึกษาทางข้อกฎหมาย (อย่าอ่านแต่ลิงค์ที่ลงไว้ โปรดกดลิงค์ตามที่อ้างอิงในบทความไปศึกษาต่อเรื่องการละเมิด ลอกเลียน และนำมาใช้เพื่องานศิลปะ

ฝ่ายหนึ่งบอกว่ามันคือการขโมย อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่ามันงานศิลปะ

แล้วคุณคิดอย่างไรกับศิลปะแบบนี้ หรือว่ามันไม่ใช่ศิลปะ ถ้าภาพของคุณในอินสตาแกรมเกิดมีศิลปินอย่างริชาร์ดมานำไปขายได้เป็นแสนดอลลาร์คุณจะทำอย่างไร?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความฝันของภรรยาชาวประมง

ภาพพิมพ์สมัยเอโดะภาพหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังมาก ชื่อความฝันของภรรยาชาวประมง หรือบางทีก็เรียกว่า หญิงนักดำน้ำกับปลาหมึกยักษ์ ผลงานของคัทซูชิตะ โฮกุไซ

พญามังกรแดงผู้ยิ่งใหญ่

ในนิยาย Red Dragon ของ โธมัส แฮร์ริส มีตัวละครหนึ่งเรียกตัวเองว่า “พญามังกรแดงผู้ยิ่งใหญ่” หรือ The Great Red Dragon ฆาตกรต่อเนื่องผู้หลงใหลภาพเขียน The Great Red Dragon and the Woman Clothed in Sun ของวิลเลี่ยม เบลก

ภาพเขียนของจีน-มิเชล บาสเกียต์ ประมูลในราคา 110.5 ล้านดอลลาร์

มีคนประมูลภาพเขียนของจีน-มิเชล บาสเกียต์ ศิลปินผู้ล่วงลับไปในราคา 110.5 ล้านดอลลาร์ ทำให้ภาพเขียนของเขาเป็นภาพเขียนของศิลปินอเมริกันที่มีราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์